โครงการผลิตไก่ประดู่หางดำและไก่กระดูกดำเพื่อส่งเสริมอาชีพ

1. การผลิตลูกไก่พื้นเมืองสายพันธุ์ประดู่หางดำและไก่กระดูกดำ เพื่อแจกจ่ายให้กับเกษตรกร

     จำนวนไก่ที่นำไปส่งเสริมอาชีพให้กับเกษตรกรใน ระยะเวลา 3 ปี

          ไก่ประดู่หางดำ ส่งเสริมใน 2 พื้นที่ ได้แก่

  • โครงการวิจัยและพัฒนาการปลูกชาน้ำมัน มูลนิธิชัยพัฒนา (ปางมะหัน) ต. เทอดไทย อ.แม่ฟ้าหลวง จ. เชียงราย จำนวน 17 หมู่บ้าน จำนวน 24,541 ตัว
  • โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.แม่ฟ้าหลวง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย จำนวน 25 หมู่บ้าน จำนวน 4,285 ตัว

         ไก่กระดูกดำ ส่งเสริมใน 4 พื้นที่ ได้แก่

  • พื้นที่โครงการวิจัยและพัฒนาการปลูกชาน้ำมัน มูลนิธิชัยพัฒนา (ปูนะ) ต.เทอดไทย อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย จำนวน 10 หมู่บ้าน รวมจำนวน 14,419 ตัว
  • พื้นที่โครงการรวมกันสู้ อยู่อย่างพร้อม ของศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ ต.พุคา อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี จำนวน 1,000 ตัว
  • พื้นที่โครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 พระราชทาน ของศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ ต.บ้านจารย์ อ.สังขะ จ.สุรินทร์ จำนวน 2 หมูบ้าน รวมจำนวน 2,420 ตัว และ ต.สะกาด อ.สังขะ จ.สุรินทร์ จำนวน 4 หมู่บ้าน รวมจำนวนตัว 1,420 ตัว
  • พื้นที่ ต.ห้วยไคร้ และ ต.แม่สาย อ.แม่สาย จ.เชียงราย รวมจำนวน 2,900 ตัว

2. การอบรมการเลี้ยงและการจัดการไก่พื้นเมือง

  • การเลี้ยงและการจัดการไก่พื้นเมืองให้มีคุณภาพ (ประกอบด้วย สายพันธุ์ โรงเรือน อุปกรณ์ รูปแบบการเลี้ยง และรูปแบบของโรงเรือนที่เหมาะสมในท้องถิ่น)
  • การประยุกต์ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นเป็นอาหารไก่พื้นเมือง (ประกอบด้วย ชนิดวัตถุดิบ การเลือกใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นเป็นอาหารไก่พื้นเมือง และการทำอาหารหมักจากต้นกล้วย)
  • โรคสัตว์ปีกและการป้องกัน (ประกอบด้วย การสุขาภิบาล การทำวัคซีนป้องกันโรค โรคสัตว์ปีกที่พบบ่อย และการปฏิบัติเมื่อพบไก่ป่วย)
Responsive image

Responsive image

Responsive image

Responsive image


ปรับปรุงข้อมูล 29/3/2567 13:29:18
, จำนวนการเข้าดู 0