ประวัติความเป็นมา
     ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนา ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2555 ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้ความสำคัญกับการทำการเกษตรและเป็นอัตลักษณ์ของสถาบัน จึงได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ฯ เพื่อเป็นฐานการเรียนรู้ที่ใช้ในการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของคนล้านนา เป็นสถานที่ให้บริการทางด้านการฝึกอบรม สาธิตการทำการเกษตรแบบธรรมชาติและการทำเกษตรอินทรีย์ ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา การจำลองกลุ่มบ้านล้านนาและวิถีชีวิตของคนล้านนา การจัดนิทรรศการการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเกษตรล้านนา การไถนาโดยใช้ควาย วัฒนธรรมการปลูกข้าว การปลูกผักสวนครัวหลังบ้านและริมรั้วบ้าน การเลี้ยงสัตว์อินทรีย์ เช่น ไก่หลุม หมูหลุม เป็นต้น การน้อมนำแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ ให้แก่ นักเรียน นักศึกษา เยาวชน เกษตรกร และผู้ที่สนใจในการเข้าศึกษาดูงาน สาธิตและฝึกอบรม และยังสนับสนุนการเรียนการสอน รายวิชา ผษ101 เกษตรเพื่อชีวิต ให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัย แม่โจ้ และการลงปฏิบัติงานฟาร์มของ นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้

วัตถุประสงค์
1. เป็นแหล่งศึกษาความรู้แห่งใหม่ที่สามารถบูรณาการด้านศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนรายวิชา ผษ101 เกษตรเพื่อชีวิต
3. เป็นสถานที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านการทำการเกษตรแบบธรรมชาติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

การถ่ายทอดวัฒนธรรมประเพณีของคนล้านนา
1. พิธีกรรมแฮกนา ได้แก่ พิธีแฮกนาน้อย พิธีแฮกนาใหญ่
2. พิธีสู่ขวัญข้าว ได้แก่ พิธีแฮกเกี่ยวข้าว
3. พิธีมัดมือควาย หรือพิธีสู่ขวัญควาย
4. การใช้แรงงานสัตว์ในการไถนา
5. การจัดแสดงหย่อมบ้านล้านนา และอุปกร์การดำรงชีวิตของคนล้านนา

การถ่ายทอดหลักสูตร “การทำเกษตรแบบธรรมชาติ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง”
โดยการนำวัสถุท้องถิ่นมาใช้ในการทำการเกษตร เน้นการใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้กระบวนการผลิต การปลูกพืชผัก การเลี้ยงสัตว์ และการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยหลักสำคัญ ดังนี้
1. การผลิตเชื้อราขาว การผลิตเชื้อราขาว ทำได้ 3 อย่าง
- การเก็บเชื้อราขาว (IMO1)
- การทำหัวเชื้อราขาว (IMO2)
- การทำหัวเชื้อขยาย (IMO3)
การใช้ประโยชน์ ช่วยย่อยสลาย ปรับความเป็นกรด-ด่าง ทำให้ดินสามารถปล่อยแร่ธาตุได้ดี ทำให้ดินมีออกซิเจนไหลเวียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้พืชต้านทานโรค ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต กำจัดกลิ่นเหม็น และกำจัดมลภาวะ
2. การผลิตน้ำหมักจุลินทรีย์ 3 ประเภท 7 ชนิด
- ประเภทที่ 1 จากพืช (พืชสีเขียว ผลไม้สุก พืชสมุนไพร)
- ประเภทที่ 2 จากน้ำซาวข้าว (นมสด เปลือกไข่ ถ่านกระดูกสัตว์)
- ประเภทที่ 3 จากสัตว์ (เศษกุ้ง หอย ปู ปลา ไส้เดือน รกหมู)
3. การผลิตน้ำหมักจุลินทรีย์ป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์
4. การเลี้ยงสัตว์อินทรีย์ในหลุม (ไก่หลุม,หมูหลุม)

สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อาคารธรรมศักดิ์มนตรี ชั้น 2 ห้อง 206 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
เบอร์โทรศัพท์ 053-873415 เบอร์มือถือ 081-3877736 (ว่าที่ร้อยตรีสมบูรณ์ ระดม)

รับชมวีดิทัศน์ >> แนะนำศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนา มหาวิทยาลัยแม่โจ้

English >> Lanna Agricultural Heritage Learning Center (LAHLeC)

Responsive image

Responsive image

Responsive image

Responsive image

Responsive image

Responsive image

Responsive image

Responsive image

Responsive image

Responsive image


ปรับปรุงข้อมูล 12/1/2567 16:20:18
, จำนวนการเข้าดู 0