Responsive image

   

     พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ทรงได้พระราชทานแนวทางการพัฒนาที่ใช้แนวคิดอันเหมาะสม และสอดคล้องกับภูมิสังคม อันได้แก่ สภาพพื้นที่ สังคมและวัฒนธรรมซึ่งทั้งหมดอยู่บนฐานความคิด ของความพอเพียง นอกจากนี้ยังมีปราชญ์ท้องถิ่นจำนวนมากที่ได้สร้างสรรค์แนวทางในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ที่สอดคล้องกับแนวพระราชดำริ

Responsive image

   

     มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยการสนับสนุนของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา จึงได้ริเริ่มจัดการศึกษาระดับปริญญาโท และระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน เพื่อเผยแผ่แนวทางการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริ อันนำไปสู่การพัฒนา และเพิ่มศักยภาพของนักศึกษาในฐานะที่เป็นทรัพยากรมนุษย์ และสังเคราะห์องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการขยายผลและต่อยอดอย่างต่อเนื่องในสังคม

การสร้างหลักสูตร
12 มิถุนายน 2545 แต่งตั้งกรรมการร่างหลักสูตร สาขาวิชาเกษตรตามแนวพระราชดำริ
27 มิถุนายน 2545 ประชุมคณะกรรมการร่างหลักสูตรฯ ครั้งที่ 1 โดยมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เป็นประธาน
23 สิงหาคม 45 ประชุมคณะกรรมการร่างหลักสูตรฯ ครั้งที่ 2 โดยมี รศ.สมชาย องค์ประเสริฐ เป็นประธาน

การยกร่าง และเปิดหลักสูตร
26 พฤษภาคม-1 มิถุนายน 2546 ประชุมเชิงปฏิบัติการยกร่างหลักสูตร ได้ชื่อ หลักสูตร “การพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน”
27-29 มิถุนายน 2546 ประชุมเชิงปฏิบัติการ ณ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ
16 พฤศจิกายน 2546 สภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เห็นชอบหลักสูตร “วท.ม. สาขาวิชาการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน”
12 มิถุนายน 2547 รับนักศึกษารุ่นที่ 1 และรับต่อเนื่องทุกปี
9 มิถุนายน 2550 เพิ่ม หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต
ปัจจุบัน เปิดรับนักศึกษา 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต


ปรับปรุงข้อมูล 7/1/2567 21:51:18
, จำนวนการเข้าดู 0