โครงการส่งเสริมการใช้หอยเชอร์รี่เป็นอาหารสัตว์ 

หลักการและเหตุผล

      หอยเชอร์รี่ เป็นศัตรูสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำลายข้าวที่ชาวนาปลูกไว้ เนื่องจากสามารถขยายพันธุ์ได้ตลอดปี และสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี วางไข่ครั้งละ ประมาณ 300-3,000 ฟอง ใช้เวลาในการฟักออกเป็นตัวสั้น คือ ประมาณ 7-12 วัน และมีอัตราการฟักออกสูง คือ ประมาณ 71-90% สามารถวางไข่ได้ 10-12 ครั้ง/เดือน นอกจากนี้ จากพฤติกรรมที่ทนต่อสภาพแวดล้อม คือในช่วงฤดูแล้งจะมีการจำศีล และสามารถจำศีลได้นาน 5-6 เดือน ในช่วงที่มีการระบาดมากๆ อาจพบหอยเชอรี่มากถึง 19 ตัว/ตารางเมตร การกำจัดหอยเชอรี่นั้นเกษตรกรส่วนใหญ่มีกจะใช่สารเคมีจึงส่งผลให้มีสารเคมีตกค้างในดินและน้ำ การแก้ปัญหาเกี่ยวกับหอยเชอรี่ทำลายข้าวในนาของเกษตรกรนั้น ได้มีการส่งเสริมให้นำเนื้อหอยเชอรี่ไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นมากมาย เช่น นำไปเป็นอาหารเพื่อบริโภค และนำไปเป็นวัตถุดิบในการทำน้ำหมีกชีวภาพ เป็นต้น

     นอกจากนี้ เนื้อหอยเชอรี่ที่มีโปรตีนสูงตีนสูงแล้ว เปลือกหอยเชอรี่ยังมีปริมาณแคลเซียมสูง คือประมาณ 38 % ดังนั้น จึงได้มีการทดลองนำหอยเชอรี่มาเป็นแหล่งอาหารโปรตีน เพื่อทดแทนการใช้ปลาป่นอาหารสัตว์และนำเปลือกมาใช้เป็นแหล่งของแคลเซียมทอดแทนเปลือกหอยที่มาจากทะเล ซึ่งนับวันยิ่งหายากขึ้นทุกที จากการรวบรวมรายงานวิจัยเกี่ยวกับการใช่หอยเชอรี่เป็นอาหารสัตว์สัตว์ปีก พบว่า สามารถใช้เนื้อหอยเชอรี่แห้งทดแทนปลาป่นในอาหารไก่เนื้อ  โดยมีรายงานว่า สามารถใช้เนื้อหอยเชอรี่แห้งทดแทนปลาป่นได้ไม้เกิน 25 % แต่บางรายงานพบว่าสามารถใช้ได้ถึง 100% โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพการผลิต แต่มีแนวโน้มทำให้สมรรถภาพการผลิตลดลงเมื่อใช้เนื้อหอยเชอรี่แห้งที่ระดับสูงกว่า 75% ส่วนในไก่ไข่สามารถใช้ได้ทั้งเนื้อหอยเชอรี่ และเนื้อหอยเชอรี่พร้อมเปลือก โดยส่วนเนื้อหอยเชอรี่สามารถใช้ทดแทนปลาป่นไดถถึง 100% โดยไม่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตและคุณภาพไข่และการใชเนื้อหอยเชอรี่พร้อมเปลือกจะทำห้ต้นทุนค่าอาหารต่ำลง และผลตอบแทนจากการผลิตจะดีกว่าการใช้เนื้ออหอยเชอรี่เพียงอย่างเดียว      นอกจากน้ียงพบว่าการใช่เนื้อหอยเชอรี่ในสูตรอาหารไก่ไข่ที่ระดับ 15% มีผลทาให้สิ่งของไข่แดงเพิ่มขึ้น

     จากการสังเกตการใชหอยเชอรี่เป็นอาหารไก่พื้นเมือง พบว่า เกษตรกรบางรายเก็บหอยเชอรี่มาแล้ว ทุบเปลือกให้แตกจากนั้นก็นำไปให้ไก่กินสด ๆ โดยไม่ทาใหํ ้สุกเสียก่อน เนื่องหอยเชอรี่เป็นหอยน้ำจืดซึ่ง เป็นที่อาศยของพยาธิหลายชนิด จึงอาจทำให้ ไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงเป็นพยาธิในระบบทางเดินอาหารและส่งผล เสียต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของไก่ได้จึงจาเป็นอยางยิ่งจะตองททำใหํ ้สุกเสียก่อนโดยการนึ่งหรือต้ม จากนั้นจึงทำให้ แห้งเพื่อยืดอายุ การเก็บรักษาไวนานเก็บไว้ใช้ ยามขาดแคลนหรือไวใช้ ในหน้าแล้งได้

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. ส่งเสริมการใชหอยเชอรี่เป็นแหล่งอาหารโปรตีนอาหารไก่พื้นเมือง
  2. สร้างเครือข่ายเกษตรกรที่ใชหอยเชอรี่เป็นอาหารไก่พื้นเมืองและมีการถ่ายทอดองคความรู้ระหว่างเครือข่าย

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เกษตรกรมีความรู้เรื่องการใชหอยเชอรี่เป็นอาหารสัตว์
  2. เกษตรกรสามารถกำจัดหอยเชอรี่ที่เป็นศัตรูของขาวโดยนำมาใช้เป็นแหล่งโปรตีนในอาหารสัตว์
  3. เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
  4. เป็นสถานที่สาหรับศึกษาและวิจยสำหรับนักศึกษาและคณาจารยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้

ปรับปรุงข้อมูล 4/4/2567 9:43:59
, จำนวนการเข้าดู 0